การลงทะเบียนและยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ปฏิทินขั้นตอนการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
1. หลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
1.1 ขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ประกอบด้วย
1) จัดทำประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุทราบสิทธิของตนเอง
2) ลงทะเบียนตามวัน เวลา สถานที่ที่กำหนด (ในวันและเวลาราชการ)
3) ให้ผู้สูงอายุละทะเบียน ตามแบบที่กำหนด (แบบคำขอขึ้นทะเบียนรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ) ด้วยตนเอง หรือในกรณีมีความจำเป็นไม่สามารถมาลงทะเบียนด้วยตนเองได้ ผู้สูงอายุสามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้
4) ตรวจสอบหลักฐาน/คุณสมบัติผู้มีสิทธิจากข้อมูลทะเบียนราษฎร
5) ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
6) รวบรวมจำนวนผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ส่งให้สำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร ภายในวันที่ 14 มกราคม ของทุกปี
7) การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จ่ายเป็นรายเดือน ๆ ละ 500.- บาท โดยมี 2 แนวทาง ดังนี้
โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร
1.2 ขั้นตอนและแนวทางปฏิบัติของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย
1) ผู้ยื่นคำขอ หมายถึง ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุซึ่งต้องมาด้วยตนเอง หรือในกรณีมีความจำเป็นไม่สามารถมาลงทะเบียนด้วยตนเองได้ ผู้สูงอายุสามารถมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้
2) กรอกในคำขอตามแบบที่กำหนด และยื่นคำขอต่อผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ตั้งแต่วันที่ 1 – 30 พฤศจิกายนของทุกปี ในวันและเวลาราชการ ณ สถานที่ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกำหนด
3) หลักฐานประกอบการจดทะเบียน มีดังนี้
-บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย พร้อมสำเนา
-ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา
-สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารพร้อมสำเนา สำหรับในกรณีที่ผู้ขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
ประสงค์ขอรับเงินผ่านธนาคาร
ในกรณีมีความจำเป็นที่ไม่สามารถมาลงทะเบียนได้ ผู้สูงอายุอาจมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนก็ได้
ในกรณีผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพย้ายทะเบียนบ้าน หากมีความประสงค์จะรับเบี้ยยังชีพต้องลงทะเบียนในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนมีชื่ออยู่ใหม่ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยจ่ายเดิมต้องดำเนินการจ่ายจนสิ้นสุดปีงบประมาณนั้น ๆ ไป
-หนังสือมอบอำนาจพร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ในกรณียื่นคำขอฯ แทน)
4) การแจ้งความจำนงรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ประกอบด้วย
-โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้มีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
-โอนเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นลายลักษณ์อักษร